อาณัติ พ่วงลา : จอมยัดห่วงไทย ที่เล่นบาสฯ อาชีพเพื่อตามหาพ่อบังเกิดเกล้า

03/06/2019 ts911hklen 494 views

อาณัติ พ่วงลา : จอมยัดห่วงไทย ที่เล่นบาสฯ อาชีพเพื่อตามหาพ่อบังเกิดเกล้า

อาณัติ พ่วงลา

คุณๆ ทั้งหลายเคยถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่า สิ่งที่เราทำอยู่ในทุกวันนี้ ทำเพราะสาเหตุอะไร? บางคนก็ทำตามความฝัน บางคนก็ แทงบาคาร่า เพื่อความมั่งคั่ง และอีกหลายคนก็ทำเพื่อครอบครัวและคนที่รัก

สำหรับ “เหยา” อาณัติ พ่วงลา นักบาสเกตบอลดีกรีทีมชาติไทยของสโมสร โมโน แวมไพร์ คำนิยามที่สั้นและดูจะตรงกับเรื่องราวกว่าที่เขาจะมาถึงวันนี้มากที่สุด คงเป็นคำว่า “กตัญญู” ต่อผู้มีพระคุณ

ไม่เพียงเท่านั้น การที่เขาสามารถพัฒนาฝีมือจนได้เล่นในระดับอาชีพ และติดทีมชาติ ยังถือเป็นความหวังในการตามหาสมาชิกคนสำคัญของครอบครัวอีกหนึ่งคน ซึ่งตัวเขาไม่เคยพบหน้ากับตัวเองมาก่อนเลยทั้งชีวิตอีกด้วย

“ตอนเด็กๆ ผมก็เด็กบ้านนอก เด็กเลี้ยงควายเลยครับ อยู่ที่ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี พออายุประมาณ 10 ขวบก็เห็นพี่ๆ แถวบ้านเขาเตะตะกร้อ เลยเอามาเดาะๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆ พอเล่นได้เก่ง ผมก็เริ่มไม่เรียนละ ไปเตะตะกร้อกินตังค์กับพวกพี่ๆ ได้เงินมา 5 บาท 10 บาทซื้อขนม จนกระทั่งมีอาจารย์ที่ โรงเรียนบ้านศรีเมือง ในอำเภอบ้านดุง สนใจ เรียกเราไปติดทีมโรงเรียนสมัย ม.ต้น ก็ไปแข่งจนได้แชมป์ระดับจังหวัด”

ทว่าจุดเปลี่ยนแรกของชีวิตก็มาถึงในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างชั้นมัธยมต้นกับมัธยมปลาย ซึ่งนอกจากจะนำมาซึ่งการย้ายโรงเรียนแล้ว ยังนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เมื่อจุดเด่นทางกายภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ทำให้ตัวเหยาได้รู้จักกับกีฬาที่จะเปลี่ยนชีวิตเขาไปตลอดกาล ทั้งๆ ที่ไม่เคยรู้จักกับมันมาก่อนเลยด้วยซ้ำ

“โรงเรียนที่ผมเรียนอยู่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งสุดแค่ชั้น ม.3 ทางบ้านผมไม่มีเงินส่งเรียนต่อชั้น ม.ปลายละ ผมก็เริ่มตัดใจ แต่เวลานั้นเองก็มีอาจารย์จากโรงเรียนต่างๆ มาติดต่อ อยากให้เราไปเป็นนักเรียนโควต้านักกีฬาถึง 4 ชนิด วอลเลย์บอล ฟุตบอล ตะกร้อ บาสเกตบอล” เหยาเริ่มเล่าถึงจุดเปลี่ยนแรกของชีวิต

“ตอนแรกเราก็มองไปที่วอลเลย์บอล เพราะด้วยความสูงของผมก็ถือว่าเล่นได้อยู่ แต่มาเจอจุดเปลี่ยนตรงที่โค้ชตะกร้อที่เคยสอนผมไปเจอกับ อาจารย์ กมล มงคลสิริสมบัติ โค้ชบาสเกตบอลของ โรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา ในอำเภอเมือง ชุดที่ไปแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษารุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งรายการนั้นผมไม่ได้ไปแข่งด้วยเนื่องจากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ (ขณะนั้นเหยาอายุ 16 ปี) ทีนี้ มีคนนึงในทีมสูง 2 เมตร พอโค้ชตะกร้อผมเห็นก็พูดเลยว่า ‘สูงแบบนี้เด็กผมก็มี’”

“พอได้ยินแบบนี้ ทาง อ.กมล ก็ขอเบอร์ของผม แล้วก็โทรมา ผมก็บอกเล่าเรื่องราวไปแล้วก็บอกด้วยว่า ตอนนี้ผมไม่มีเงินเรียนนะ ทีนี้อาจารย์ท่านมาหาผมถึงบ้านเลย มาขอตัวผมกับคุณตาคุณยาย จะส่งเสียเรื่องการเรียนให้ ขอแค่อย่างเดียวคือ มาเล่นบาสเกตบอล”

อาณัติ พ่วงลา

แม้จะเป็นเรื่องดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่การได้เรียนต่อในระดับ ม.ปลาย ก็นำมาซึ่งปัญหาใหญ่ในชีวิตการเป็นนักกีฬาของเหยาด้วยเช่นกัน เพราะเด็กบ้านนอกอย่างเขา ไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า กีฬาบาสเกตบอลคืออะไร และต้องเล่นอย่างไร

“การเปลี่ยนกีฬาที่เล่น มันทำให้เราต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย” เหยาเริ่มเล่า “แต่มันก็มีข้อดีอยู่นะครับ คือคนที่ไม่เป็นเนี่ย อาจจะไม่เคยรู้จักมันมาก่อนก็จริง แต่ตอนเรียนรู้เวลามีใครจับอะไรใส่หัวเนี่ย มันจะเข้าหัวอย่างรวดเร็ว ผมใช้เวลาจากที่เล่นบาสไม่เป็นเลยจนเป็นในเวลาเพียง 6 เดือน แล้วก็ได้ไปแข่งรายการแรก แต่รายการนั้นผมก็ยังไม่ได้มีบทบาทมาก ก็เพียงคอยรีบาวด์ใต้แป้น เพราะว่าผมตัวสูง เลยโดนจับเล่นตำแหน่งเซนเตอร์เลยตอนนั้น”

แม้ชั่วโมงบินของเหยา อาณัติ พ่วงลา จะมีเพียงไม่นาน แต่ด้วยความใฝ่รู้ ขยัน บวกกับเจอคู่หูที่ดี ทีมโรงเรียนอุดรพิชัยรักษ์พิทยา จึงทะยานสู่ความสำเร็จอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง

“พอได้ติดทีมโรงเรียน ได้ไปแข่ง มันก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตอนปีแรก ม.4 นี่ยังไม่ประสบความสำเร็จอะไรนะ แต่พอขึ้น ม.5 ตั้งแต่รายการแรกที่แข่ง จนถึง ม.6 รายการสุดท้าย โรงเรียนผมชนะรายการในภาคอีสานหมดเลย ตอนนั้นโรงเรียนผมมีคู่แฝด (ปริ้น - มนัสวี และ ปาย - มนัสกวิน บุตรด้วง ปัจจุบันเล่นให้ทีม SWU ทั้งคู่) เราสามคนเล่นด้วยกัน และนำความสำเร็จมาให้กับโรงเรียนร่วมกัน”

“รายการที่ภูมิใจที่สุดก็คือ เหรียญเงินกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งรอบรองชนะเลิศเนี่ย จังหวัดผมชนะกรุงเทพมหานครหลังต่อเวลา 3 หน ก่อนไปแพ้นนทบุรีในรอบชิง กับกีฬาแห่งชาติ ซึ่งตอนนั้นพวกผมอายุแค่ 17 ปีเอง แบกอายุไปสู้จนได้เหรียญทองแดง ซึ่งเป็นเหรียญแรกของจังหวัดในกีฬานี้รอบ 50 ปี”

การเข้ามาเล่นอาชีพครั้งแรกในกรุงเทพฯ ทำให้เหยาต้องปรับมาเล่นในตำแหน่ง คาสิโน ใหม่ นั่นก็คือ เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เข้าไปเสริมแทนคนที่เจ็บ แทนที่จะเป็น เซนเตอร์ ซึ่งเล่นมาตั้งแต่สมัยมัธยม ซึ่งเจ้าตัวเปิดใจกับเราว่า รูปแบบการเล่นค่อนข้างจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ไม่น้อย แต่เขาก็ต้องเพิ่มทักษะด้านความเร็ว การเล่นเกมรุกให้มากขึ้นกว่าเดิม

ทว่าหลังจากช่วงเวลา 3 เดือนของ TBL หรือ ไทยแลนด์ บาสเกตบอล ลีก เลกสองฤดูกาล 2016 จบลง นักบาสหนุ่มจากแดนอุดรก็ต้องมาเจอกับจุดเปลี่ยนอีกครั้งแบบไม่ทันตั้งตัว …

“หลังจบฤดูกาลนั้น ทาง OSK ก็บอกว่าจะทำทีมต่อ ผมก็กลับบ้านที่อุดรธานีไปลาออกกับ สพล. รวมถึงงานเสริมที่ร้านแอร์ แล้วมาเข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในฐานะนักศึกษาทุนนักกีฬา แต่อีก 2 เดือนถัดมา จู่ๆ ทาง OSK ก็หายเงียบเลย ผมก็เคว้งสิ เลยต้องกลับไปขอเงินจาก อ.กมล อีกรอบเพื่อเอามาใช้เป็นค่าใช้จ่าย จนเขาก็ถามเหมือนกันว่า นี่เราคิดผิดรึเปล่า?”

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวที่ว่า “ถ้ามีฝีมือจริง อยู่ที่ไหนก็ได้” นั้นยังเป็นจริงเสมอ เพราะในขณะที่กำลังสิ้นไร้หนทาง แต่กีฬาบาสเกตบอล ก็ทำให้เขาได้พบกับเส้นทางใหม่ของชีวิตอีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
Tags : , , , , , , ,
แสดงความคิดเห็น